พาเลทพลาสติก ที่ใช้ในประเทศไทย มี มีคำเรียก พาเลทพลาสติก หลากหลาย ตามลักษณะ คือ 1.เรียกตามของที่จะวางบนพาเลทพลาสติก 2.เรียกตามลักษณะของพาเลทพลาสติก 3.เรียกตามลักษณะการใช้งาน และ 4. เรียกตามชื่อบริษัทที่ใช้พาเลทพลาสติก
1.พาเลทพลาสติกที่เรียกตามสิ่งของที่วางบนพาเลทพลาสติก คือ ถ้าเป็นพาเลทสำหรับวางปูน ก็จะเรียกว่าพาเลทปูน ซึ่งพาเลทพลาลาสติกลักษณะนี้ จะมีลักษณะ ใช้ได้ทั้งสองด้านคือมีหน้าโต๊ะของพาเลททั้งสองด้าน ตามตัวอย่างข้างล่าง
kp-9
ตามรูปพาเลทพลาสติกจะมีลักษณะ หน้าเรียบหรือหน้าทึบทั้งสองด้าน เพื่อจะเอาพาเลทพลาสติกมาทับถุงปูนแล้วจะไม่มีการแตกของถุงปูน ลักษณะการวางถุงปูนของพาเลทปูน ก็คือ วางถุงปูนจำนวนหนึ่งให้เต็มพื้นที่พาเลทพลาสติก หลังจากนั้นก็เอาพาเลทพลาสติกตัวที่สองมาวางทับที่ถุงปูนที่วางบนพาเลทพลาสติกตัวแรก ซึ่งพาเลทพลาสติกจะวางซ้อนกัน ในลักษณะนี้ต่อไปเรื่อย จนกว่าผู้ใช้งานจะพอใช้ ซึ่งการวางพาเลทพลาสติก ลักษณะอย่างนี้ สามารถทำได้กับถุงอื่นที่มีลักษณะคล้ายถุงปูนเช่น ถุงข้าว ถุงกระสอบข้าว และ ถุงแป้ง ก็ได้ พาเลทพลาสติกสำหรับถุงปูนแบบนี้จะไม่สามารถใช้งานกับตะเข้ หรือ แฮนด์พาเลท ได้ พาเลทพลาสติกอีกประเภทหนึ่งที่มีสำหรับวางสินค้าเฉพาะเช่นยางพารา ซึ่งในประเทศไทย พาเลทพลาสติกชนิดนี้มีการผลิตออกมาเพื่อประมาณ 3 ปี ที่แล้ว ซึ่งเป็นพาเลทพลาสติกชนิดพิเศษคือจะมีลักษณะยาวเป็นพิเศษ และ มีขอบกั้นตกที่หน้าโตะพาเลทพลาสติกประมาณ 1 นิ้ว ตามตัวอย่ารูปข้างล่าง
KP-39P1
พาเลทพลาสติกลักษณะแบบนี้มีการจัดทำขึ้นเฉพาะเพื่อรองรับการใช้การของโรงงานยางพาราในประเทศไทย พาเลทพลาสติกแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบหน้าโปร่งหรือหน้าตะแกรง เนื่องจาก ต้องการให้น้ำยางบางส่วนที่ไม่ได้เกาะเป็นยางแผ่นสามารถร่วงตกพื้นได้ และ มีการระบายอากาศได้ดีทำให้ยางพาราแห้งแร็ว
สรุปคำเรียกพาเลทพลาสติก ตามสิ่งของที่นำมาวางบนพาเลทพลาสติกส่วนใหญ่ จะเรียกตามความเหมาะสมในการใช้งานกับสิ่งนั้น เช่นพาเลทปูน หรือ พาเลทวางปูน ก็จะมีลักษณะเฉพาะที่เหมาะสมในการวางถุงปูน แต่พาเลทพลาสติกลักษณะแบบสามารถวางบนถุงอื่นทีลักษณะคล้ายถุงปูนก็ได้ และ พาเลทพลาสติกยางพารา หรือ พาเลทพลาสติกสำหรับวางยางพารา ก็จะมีการออกแบบให้เหมาะสมกับการวาง ยางพารา แต่ก็สามารถวางสินค้าอื่นที่มีลักษณะคล้ายยางพาราก็ได้ อีกทั้งนั้นอนาคตก็อาจจะมีการพัฒนาพาเลทพลาสติกที่มีรูปแบบเฉพาะในการวางสินค้าตัวอื่นอีกต่อไป