BLOG

34.พาเลทพลาสติกหมุนเวียนสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้มาก ดังนั้นทุกองค์กร และ หน่วยงานต่างๆทั่วโลกจึงได้ให้ความสนใจในการศึกษาและทดสอบถึงการใช้พาเลทพลาสติกหมุนเวียนเพื่อใช้ในการลดต้นทุนโลจีสติกส์ของตนเองเพื่อจะสามารถทำให้แข่งขันกับคู่แข่งได้ ดังนั้นพาเลทพลาส

ข้อมูลจากสภาผู้ส่งสินค้าทางเรืองแห่งประเทศไทย(2553) ได้กล่าวว่า พาเลทพลาสติกหมุนเวียนสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้มาก ดังนั้นทุกองค์กร และ หน่วยงานต่างๆทั่วโลกจึงได้ให้ความสนใจในการศึกษาและทดสอบถึงการใช้พาเลทพลาสติกหมุนเวียนเพื่อใช้ในการลดต้นทุนโลจีสติกส์ของตนเองเพื่อจะสามารถทำให้แข่งขันกับคู่แข่งได้ ดังนั้นพาเลทพลาสติกถือเป็นอุปกรณ์ที่เข้ามาเป็นส่วนช่วยให้เกิดความรวดเร็ว ประหยัดเวลา และ สะดวก ในการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างมีระบบและระเบียบ พาเลทพลาสติกซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากและอย่างกว้างขวางในการใช้งาน ซึ่งมีการผลิตพาเลทพลาสติกมากกว่า 5000 ล้านแผ่น และ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการใช้พาเลทมากกว่า 2000 ล้านแผ่น เนื่องจากการใช้พาเลทพลาสติกเป็นที่นิยมอย่างมาก และ กว้างขวางในประเทศต่างทั่วโลก ซึ่งทำให้พาเลทพลาสติกมีลักษณะ รูปแบบ ขนาด ที่แตกต่างกันในแต่ประเทศของผู้ใช้ แต่มีการพบว่าในการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศ พบว่าบางครั้งพาเลทพลาสติกกลับทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก สาเหตุที่พบก็จากพาเลทพลาสติกไม่ได้มาตราฐานสากล จึงพบเมื่อส่งพาเลทพลาสติกจากอีกประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ขนาดพาเลทพลาสติกที่มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้การส่งส่งสินค้าแทนที่ทำให้อย่างสะดวกสบาย แต่กลับเป็นภาระของงานโลจีสติกส์ อาทิเช่นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายพาเลทกันไปมา ดังนั้นสำหรับประเทศในยุโรป จึงได้มีความตระหนักถึงปัญหาขนาดพาเลทพลาสติกที่แตกต่างกัน จึงได้มีการจัดตั้ง European Pallet Association (EPAL) โดยได้นำ่ความคิดของการนำพาเลทหมุเวียน มาจัดทำมาตราฐาน และ ควบคุมคุณภาพของพาเลทพลาสติก สำหรับสนับสนุนการหมุนเวียนใช้ โดยมีได้มีการใช้มาตราฐาน ISO ทั้งนี้มีการคิดค้นพัฒนา และ นำโครงการนำร่อง  EPC/RFID เพื่อเป็นการควบคุมของหมุนเวียของพาเลท ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายของงานโลจีสติกส์ได้สถึง ร้อยละ 30 นอกจากนี้ในกลุ่มประเทศเอเซีย ก็ได้มีการจัดการควบคุมของคุณภาพและขนาดมาตราฐานพาเลท เพื่อทีี่จะทำให้สามารถต้นทุน และ ประหยัดเวลา โดยมีการจัดตั้ง Asian Pallet System Federation โดยเกิดจากแนวคิดของ EPAL มาเป็นหลักคิด โดยมีประเทศญี่ปุ่่น ประเทศจีน ประเทศเกาหลี และ ทำให้มีการสนใจและเผยแพร่ไปยังกลุ่มต่างๆ ในประเทศอาเซียน ซึ่งมี ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศไทย ซึ่งได้เข้าเป็นสมาชิก และ มีการแลกเปลียนแนวความคิด และ ความร่วมมือกัน จึงก่อให้เกิด Pallet Pool System โดยมีมาตราฐาน หรือ ภายใต้มาตราฐาน APSF ซึ่งประเทศไทย และ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยได้เข้าร่วม